เมนู

[387] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย
น้ำมันและไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึง
ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวย
เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้
ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น
ในโลกนี้ทีเดียว.
จบ ทุติยเคลัญญสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเคลัญญสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า อิมเมว ผสฺสํ ปฏิจฺจ ดังนี้ พระองค์ตรัส
โดยอัธยาศัยสำหรับผู้รู้ทั้งหลาย. แต่ว่าโดยความหมายนั้นไม่มีเหตุอันต่าง ๆ
กัน. ที่แท้ กายเท่านั้น ตรัสว่า ผัสสะ ในที่นี้.
จบ อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ 8

9. อนิจจสูตร

1

ว่าด้วยเวทนา 3 เป็นของไม่เที่ยง



[388] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา 3 เหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็น
1. สูตรที่ 9 อรรถว่าง่ายทั้งนั้น

ธรรมดา เวทนา 3 เป็นไฉน เวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา 3 นี้แล ไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา.
จบ คนิจจสูตรที่ 9
อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 9
สูตรที่ 9 ง่ายทั้งนั้น

จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 9

10. ผัสสมูลกสูตร



ว่าด้วยเวทนา 3 เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล



[389] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 นี้ เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะ
เป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา 3 เป็นไฉน เวทนา 3
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ความเสวย
อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอัน
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ อันเกิด
แต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง